American Sniper – อเมริกัน สไนเปอร์

American Sniper (Clint Eastwood / USA / 2014) หนังสงครามหลายเรื่องมักจะมีจุดร่วมคล้ายๆ กันที่ทำให้เกิดความซ้ำซากจำเจคือบรรยากาศฉากรบ  ฝั่งแรกคือหนังที่ต้องการเอาความมันยิงถล่มกันตูมตามวิ่งหนีกันอุตลุดดูสนุกเหนือจริงจน และซัดความตื่นเต้นตกอกตกใจใส่เราได้ตลอดเวลา  อีกฝั่งหนึ่งคือหนังสมจริงสมจังที่ต้องรายล้อมด้วยความรู้สึกกดดันและตึงเครียดทางอารมณ์ที่อันตรายรอบด้านจากลูกระเบิดและหัวกระสุนจนเกิดความหวาดระแวงถึงขั้นต้องมีสติกับเนื้อกับตัวและต้องนั่งติดเก้าอี้ผ่อนคลายความตื่นตกใจที่ค่อยๆ คืบคลานความรู้สึกของเราไว้ตลอดเวลา  ซึ่งเรามักจะเห็นในหนังสงครามที่สร้างมาจากเรื่องจริง และแน่นอนว่า American Sniper ปักธงดาว 50 ดาวตั้งฐานที่มั่นอยู่ฝั่งแรก พอบรรยากาศที่ใกล้เคียงกันแล้วสิ่งที่สำคัญมากๆ คือการกำกับที่จะพาจังหวะของหนังเคลื่อนไหวไปในแนวทางไหนซึ่งปู่ Clint Eastwood ก็ทำให้เราเห็นว่าผู้กำกับวัยเก๋าฝีมือเซียนระดับรางวัลออสการ์ยังสามารถดึงมาตรฐานของตัวเองขึ้นมาจากงานหนังที่ดูดร็อปลงไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  แต่มันก็ไม่ได้ดีโดดเด่นในระดับที่สมน้ำสมเนื้อกับผลงานมาสเตอร์พีสก่อนหน้านั้นหลายๆ เรื่องหรอก  คือถ้ามองแค่ภาพที่เห็นเพียงผิวเผินแล้วมันก็ไม่ค่อยต่างจากหนังสงครามทั่วไปในแง่ของการสร้างสรรค์ออกแบบวิธีการเล่าฉากต่าง ซึ่งก็เป็นไปตามบทบาทสถานการณ์และเรื่องราวตัวละครอย่างปกติ ไม่ได้โดดเด่นด้วยภาพหรือเครื่องมือทางภาพยนตร์อื่นเพื่อเน้นสื่อความหมาย แต่ก็แน่นอนว่ามันพกพาความสมจริงมาเต็มกระเป๋า ก่อนจะกระชากมันหายไปในฉากไคลแม็กซ์ที่ CGI วิถีกระสุนนัดนั้นมันขัดกับความสมจริงสมจังที่ผ่านมาทั้งเรื่องเสียเหลือเกิน  ส่วนตัวแล้วเราเป็นคนที่ตกหลุมระแวงของหนังสงครามทำนองนี้ได้ง่ายมากๆ American Sniper ก็เลยยิงเราโดนแทบทุกนัดอย่างหวาดเสียว ถึงจะไม่ถึงขนาดนั่งไม่ติดเบาะจนตะลึงอึงอื้อไปเลยแต่ความรุนแรงของสงครามที่สัมผัสจากหนังมันก็คุกรุ่นอยู่ในความรู้สึกอยู่นานพอสมควร แต่ถ้ามองแค่ภาพที่เห็นเพียงผิวเผินแล้วมันก็ไม่ค่อยต่างจากหนังสงครามทั่วไปในแง่ของการสร้างสรรค์ออกแบบวิธีการเล่าฉากต่าง  ซึ่งก็เป็นไปตามบทบาทสถานการณ์และเรื่องราวตัวละครอย่างปกติ  ไม่ได้โดดเด่นด้วยภาพหรือเครื่องมือทางภาพยนตร์อื่นเพื่อเน้นสื่อความหมาย  แต่ก็แน่นอนว่ามันพกพาความสมจริงมาเต็มกระเป๋า  ก่อนจะกระชากมันหายไปในฉากไคลแม็กซ์ที่ CGI วิถีกระสุนนัดนั้นมันขัดกับความสมจริงสมจังที่ผ่านมาทั้งเรื่องเสียเหลือเกิน ส่วนของบทหนังก็เลยกลายมาเป็นส่วนเติมเต็มจุดอ่อนระหว่างทางที่ดูเหมือนเป็นหนังเชิดชูหรือแอนตี้ทางใดทางหนึ่งที่ตั้งใจให้เห็นภาพความรุนแรงและตั้งคำถามอะไรก็ไม่รู้แหละ  ซึ่งตอนจบมันก็สามารถตอบสรุปได้อย่างหนักหน่วง  เพียงแค่ตัวอักษรสรุปจุดจบตัวละครในท้ายเรื่องที่มีพลังสั่นสะเทือนทัศนคติอเมริกันฮีโร่ฝ่ายตรงข้ามสูงถึงขีดสุด  สั่นสะเทือนไล่เลี่ยในเส้นกราฟระดับเดียวกันกับตอนจบของ Imitation Game ที่สุดท้ายความรุนแรงก็เป็นจุดจบของตัวละคร แต่ต่างกันที่ American Sniper พระเอกใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการตอบสนองอุดมคติรักชาติ แต่ใน Imitation Game พระเอกไม่หลุดพ้นจากการเป็นเหยื่อของความรุนแรงจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายของชีวิต  ถึงแม้ว่าทัศนคติของพระเอกทั้งสองเรื่องจะแตกต่างกัน แต่หนังเข้าชิงออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทั้งสองเรื่องนี้ก็เป็นตัวแทนตั้งการ์ดต่อต้านสงครามและความรุนแรงอย่างเห็นได้ชัดเจน