Young Ones (Jake Paltrow / USA / 2014) เสียดายมากๆ ที่การกำกับตัดต่อรวมถึงบทเล็กน้อยบ้างแผลใหญ่บ้างที่พอมารวมกันแล้วมันส่งหนังไปไม่สุด มันสะดุดแล้วก็ลุกอยู่อย่างนั้นอยู่นานเหมือนกัน เดี๋ยวดีบ้างเดี๋ยวเห่ยบ้าง ทั้งที่พล็อตมันเป็นทริลเลอร์สนุกๆได้และมีเรื่องมีราวสะเทือนเลือนลั่นได้เหมือนกัน เซ็ตอัพคนกลุ่มหนึ่งขาดแคลนน้ำพื้นที่แห้งแล้งราวกับทะเลทรายขณะที่อีกฟากหนึ่งของโลกไซไฟมันน่าสนใจดีแล้วเราก็ชอบที่หนังมันเล่าไซไฟแบบเบาๆ บางๆ มากๆ แต่รู้สึกว่ามันเป็นโลกเดียวกันและสำคัญต่อกัน ที่สำคัญคือความไม่หวือหวาของโลกไซไฟทำให้เรารู้สึกว่ามันเป็นโลกอนาคตที่เป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้ ก็เลยอินกับโลกไซไฟของมันเป็นพิเศษ แล้วถึงมันจะไม่ได้ออกหมัดแม่นถึงขั้นกระแทกสะเทือนทั้งๆ ที่มันทำได้ดีมากกว่านี้ แต่ก็ยังชอบมากอยู่ดี ปล.1นั่งข้างๆ ผู้หญิงคนหนึ่งสงสัยจะแฟนคลับ Nicholas Hoult ที่โผล่ออกมาช็อตแรกปุ๊บนี่สัมผัสได้ถึงรังสีติ่งเลย นั่งนิ่งตาจ้องจอเยิ้มย้อย แล้วมันตลกมากตรงที่พอถึงจุดเปลี่ยนตัวละครดูท่าทางเค้าจะเหวอๆ แล้วช็อตสุดท้ายนี่แกสะดุ้งอึ้งแดกเลยทีเดียว เราสะดุ้งตามแต่ก็แอบขำอยู่ในใจ…ฮ่าๆๆๆๆๆๆ ปล.2บ่น…วันพุธทั้งวันไม่ว่างแล้วเลือกดูได้แค่เรื่องเดียว..คิดผิดที่เลือกดู Young Ones ที่ตอนนี้ยังตามไปดูได้ที่…
Author: Admin Entertain
ฟินสุโค่ย – Fin Sugoi
ฟินสุโค่ย (ธัญวาริณ สุขะพิศิษฐ์ / Thailand / 2014 / A-) E+20 for Enjoy เสียดายที่ดูคล้ายว่า ‘ฟินสุโค่ย’ จะประสบปัญหาคล้ายๆ กันกับ ‘ตุ๊กแกรักแป้งมาก’ ในเรื่องความเข้าใจหน้าหนังผิดๆ ไปของคนที่จะตัดสินใจตีตั๋วมาดู ด้วยโปสเตอร์และชื่อหนังหนังเรื่องนี้ที่ชวนสยิวให้ตัดสินว่าเป็นหนังเรทเฉพาะกลุ่มของผู้ใหญ่ ซึ่งถึงแม้จะดึงผู้ชมกลุ่มดังกล่าวมาดูได้บ้างแต่ความฟินในความปรารถนามันคนละอย่างกัน เพราะเรื่องนี้ไม่ได้ขายเซ็กส์หรือทรวดทรงปทุมถันแต่อย่างใด เป็นหนังที่ดูไหลลื่นที่สุดของ ธัญวาริน สุขะพิศิษฐ์ โดยเฉพาะเมื่อมองในฝั่งหนังกระแสหลักแล้วมันลงตัวกว่า ‘ฮักนะสารคาม’ กับ ‘เธอเขาเราผี’ อยู่มากทั้งจังหวะการดำเนินเรื่องและประเด็นที่ทั้งบทหนัง มุมมองการกำกับ และนักแสดงล้วนแล้วแต่เสริมส่งกันและกันได้ดี…
น้องดัชมิลล์ ม.กรุงเทพ
ด้วยความหวานน่ารัก ทำให้เธอมีแฟนๆติดตามกันเยอะ เป็นสเปคผู้ชายในฝันของใครหลายๆคนเลยล่ะ IG : dutchmewmill
น้องใบเฟิร์น
น้องใบเฟิร์น กับชุดนักศึกษา พกความสวย บาดตาบาดใจหนุ่มๆ เฟสบุ๊ค : Phitchamol Srijantanet
น้องแพรพลอย
น้องแพรพลอย สาวแว่น ยิ่งมองยิ่งหลงไหล กับน้องแพรพลอย ม.ราชภัฎเชียงใหม่ น่ารักโดนใจวัยรุ่นไทยหลายคนอย่างแน่นอน ใครชอบผู้หญิงตัวเล็กๆ หมวยๆล่ะก็ ต้องส่องกันเยอะๆเฟสบุ๊ค : Pearploys
Automata – ล่าจักรกล ยึดอนาคต
วิวัฒนาการที่มนุษย์หวั่นเกรง [No Spoil] หากหนังหุ่นไซบอกที่มีวิทยาการเลิศล้ำจากฟากฮอลลีวู้ดไม่ทำให้รู้สึกแปลกใหม่ประทับใจมากขึ้นแต่อย่างใด ขอแนะนำให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศมาเสพภาพยนตร์ไซไฟสัญชาติสเปนดูกันบ้าง แน่นอนว่ารสชาติหนังสเปนไม่เคยทำให้ผิดหวัง และยังได้ความรู้สึกใหม่ๆจากหนังไซไฟที่หาการตีความแบบนี้ไม่ได้จากฟากอเมริกัน ออโตมาต้าเป็นภาพยนตร์ที่มีคอนเซปต์และแก่นเรื่องชัดเจน สารในภาพยนตร์กล่าวถึงแนวคิดของวิวัฒนาการโดยธรรมชาติ หลักใหญ่กล่าวถึงการวิวัฒนาการยุคต่อไปหลังจากนี้ ซึ่งแน่นอนในหนังเรื่องนี้สิ่งที่มีวิวัฒนาการต่อไปไม่ใช่มนุษย์แต่กลับเป็นหุ่นไซบอกที่มีสมอง การเรียนรู้ และความคิดที่ซับซ้อนกว่ามนุษย์หลายสิบเท่า ซึ่งแน่นอนว่ามีสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นได้และมนุษย์ที่มีพัฒนาการด้อยกว่าจะไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ครองโลกอีกต่อไป แนวคิดอันล้ำลึกมาพร้อมการแทนค่าสัญลักษณ์ต่างๆในภาพยนตร์มากมาย ที่ผู้กำกับเลือกใส่ไว้ทำให้ตัวหนังมีน้ำหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเล ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการวิวัฒนาการตามทฤษฎีของ ชาร์ล ดาวิน หรือเขตกัมตรังสีสูงที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้และจำกัดพื้นที่การอยู่อาศัยของมนุษย์ให้น้อยลง ต่างจากหุ่นยนต์ที่สามารถอยู่ได้ทุกสภาวะในโลก(หลังจากธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป) ซึ่งผู้กำกับได้ใส่ความหมายนี้ลงไปด้วยแมลงสาบที่อยู่ทนได้ทุกสภาวะและเอาชีวิตรอดมาได้ทุกยุคสมัย นอกเหนือจากนี้ฉากการโหนสลิงข้ามไปยังอีกฝั่งของหน้าผาก็ยังสื่อไปถึงการก้าวข้ามผ่านวิวัฒนาการที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ด้วยการแทนค่าสัญลักษณ์ต่างๆเหล่านี้ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่มีความประณีตในเชิงตกตะกอนความคิด และแจกแจงคอนเซปต์และแก่นสารได้อย่างชัดเจนและมีน้ำหนักมากทีเดียว “ห้ามทำร้ายมนุษย์และห้ามปรับปรุงตัวเอง” มันคือกฏเหล็กสองข้อที่วิศวกรคอมพิวเตอร์มนุษย์ผู้ออกแบบหุ่นออโตมาต้าได้ลงข้อมูลเอาไว้ด้วยความหวาดกลัว และเพื่อปกป้องสายพันธุ์มนุษย์ผู้เป็นใหญ่ที่ครอบครองผืนโลกเอาไว้สายพันธุ์เดียว ด้วยเกรงว่าเหล่าออโตมาต้าหรือไซบอกที่ถูกออกแบบเอาไว้ใช้งานต่างๆตั้งแต่แม่บ้านจนถึงงานกรรมกรในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีพัฒนาการและเรียนรู้ที่จะปรับปรุงระบบของตัวเองจนมนุษย์ไม่สามารถควบคุมอยู่ได้ …
Haider
Haider (Vishal Bhardwaj / India / 2014) ครั้งแรกในชีวิตที่ได้ดูหนังอินเดียในโรง ตั๋ว 250 บาท ใช้บัตร M gen ก็ไม่ลด ตอนแรกคิดไปก่อนแล้วว่าจะคุ้มตังค์ป่าววะ 3D ก็ไม่ใช่ แต่หนังมันยาวตั้ง 2.40 ชม. ก็ต้องคุ้มบ้างแหละ…แล้วมันก็คุ้มตังค์ที่เสียไปจริงๆ ในโรงวันนั้นมีแต่คนอินเดียประมาณ 20 กว่าคนได้ และเท่าที่เห็นมีคนไทยอยู่ 2 คือเรากับน้องผู้หญิงในชุดนักศึกษาอีก 1 ด้วยความที่เคยดูหนังอินเดียท่ามกลางคนดูชาวอินเดียครั้งแรกก็เกิดคำถามในหัวมากมายกับวัฒนธรรมการดูหนังซึ่งอาจเป็นเฉพาะคนกลุ่มนี้ คือคุยกันแทบจะตลอดเวลา เป็นโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่รู้ที่ฟังไม่รู้เรื่อง…
Gone Girl – เล่นซ่อนหาย
ตลอดรอดฝั่ง พอได้ยินหลายๆ คนบอกว่าเรื่องมันเดายาก ตอนดูก็เลยพยายามปล่อยสมองไหลตามหลุมพรางไป แต่พอสักพักสมองอีกครึ่งหนึ่งมันก็พยายามไขไปตามกลไกความอยากรู้อยากเห็นตามประสาเวลาดูหนังลึกลับสืบสวนสอบสวน ในฉากทำความรู้จัก ฉากขอแต่งงาน และเซ็กส์ซีนในห้องสมุด ทำให้มุมแรกเราหักตามไปถูกทาง แต่ตอนจบนี่ด้วยความที่ยังอยากเห็นคมเฉือนคมตอหลดเฉือนตอแหลเจ็บกระชากใจไปข้างหนึ่งเลย และนึกไม่ถึงว่าจะหักจบด้วยจิตวิทยาแบบนี้จริงๆ ส่วนตัวก็คิดว่ามันสะเทือนแกมสมน้ำหน้าตัวละครได้สะใจดีนะ แต่ก็รู้สึกว่าตัวละครที่น่าจะต่อเวลาขึ้นชกมากกว่านี้มันกลับประนีประนอมยอมตามความรู้สึกผิดของตัวเองจนทำให้อีกมุมก็รู้สึกว่ามันเบาไป ชอบสื่อในเรื่องนี้มากๆ เป็นส่วนที่ทำให้หนังสนุกมากๆ ทั้งยียวนกวนตีนกลับกลอก บทบาทของรายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มันนำพาสถานการณ์ได้ไวไฟมาก ถึงแม้ทุกวันนี้เป็นโลกที่ใครก็เตือนว่าต้องฟังหูไว้หูแต่คนก็เลือกหูผึ่งเชื่อไปตามความรู้สึกของตัวเองไหลไปตามความโกรธเคือง ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ จนความจริงมันกลายเป็นเรื่องโกหกหลอกลวง ความลวงกลายเป็นความจริงในที่สาธารณะที่ถูกอำพรางด้วยภาพมายา ซึ่งทั้ง Rosamund Pike กับ Ben Affleck ก็รับหน้าที่เล่นหน้าเป็นหน้าตายต่อหน้าสื่อตบชงกันไปมาผลัดกันโหนกชาได้ดีจริงๆ …สปอยล์…ตอนแรกๆ…
ช๊ะเบลล์
ช๊ะเบลล์ น.ศ. มรภ.อุดร ปี3 อิ้งธุรกิจ (ดาวคณะมนุษยศาสตร์และดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปี 2017) เฟสบุ๊ค Rungarun Thiamthan
Anun
เฟสบุ๊ค : Anun Sasinun 708 Model : Anun Sasinun น่ารักน่าเลิฟ